เรื่องน่ารู้ธุรกิจอีสปอร์ต ข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์ โฆษณา และรายได้

อีสปอร์ตไม่ใช่แค่เกมอีกต่อไป แต่กลายเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง แถมยังมีส่วนเกื้อหนุนให้อุตสาหกรรมอื่นเติบโตไปพร้อมกัน เช่น ธุรกิจสื่อ ธุรกิจสโมสร ธุรกิจซอฟต์แวร์ ฯลฯ ผู้ประกอบการหลายคนจึงมองเห็นโอกาสจับจองพื้นที่สร้างรายได้ แต่อย่างไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากฎหมายต่าง ๆ ในไทยยังไม่ครอบคลุม แหล่งรายได้ของผู้เล่นส่วนใหญ่จึงมาจากการรับสปอนเซอร์และการโฆษณา รวมถึงการแข่งขันเป็นหลัก วันนี้เราจะพามาดู เรื่องน่ารู้ธุรกิจอีสปอร์ต แต่จะมีรายละเอียดยังไง ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงอะไรบ้าง เราจะพาไปทำความเข้าใจ

เรื่องน่ารู้ธุรกิจอีสปอร์ต

ข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์และการโฆษณาอีสปอร์ต

ผู้ที่มีความประสงค์เป็นสปอร์นเซอร์หรือลงโฆษณาต้องปฏิบัติตามข้อตกลง ดังต่อไปนี้

1. ห้ามสื่อสารว่าอีสปอร์ตเป็น กีฬา

ไม่ว่าในฐานะผู้กระจายข้อมูลหรือสปอนเซอร์ต้องระบุอย่างชัดเจนว่า อีสปอร์ตเป็นเกมที่ต้องเล่นผ่านคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายเน็ตเวิร์กใด ๆ ก็ตามเพื่อความเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้เพราะนิยามของอีสปอร์ตยังคงขัดแย้งกับองค์การอนามัยโลก และไม่เป็นที่ยอมรับจากฝ่ายวิชาการแพทย์และสาธารณสุข โดยมองว่าการแข่งขันใด ๆ ก็ตามไม่ใช่กีฬา แต่เป็นการเล่นเพื่อชิงเงินรางวัล เช่นเดียวกับเกมไพ่ หมากรุก หรือโป๊กเกอร์ เป็นเพียงเกมเท่านั้น

2. กำหนดมาตรการการเข้าถึง

การโฆษณาหรือสปอนเซอร์ต้องสร้างความเข้าใจตรงกันว่าอายุเท่าไหร่เล่นได้ อายุเท่าไหร่ห้ามเล่น โดยไม่มีเจตนาชักจูงเด็กทุกคน แต่เน้นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เช่น เด็กอายุตั้งแต่ 13 – 18 หรืออายุ 18 ขึ้นไปเป็นต้น โดยผู้เข้าแข่งขันต้องปฏิบัติตามกฎ ดัง

ต่อไปนี้

  • เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีลงแข่งไม่ได้
  • เด็กอายุ 13 – 18 ปี ต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง โดยแจกแจงรายละเอียดตั้งแต่ช่วงเวลาแข่งขัน ระยะเวลา เกมอย่างครบถ้วน และผ่านการยินยอมแล้วเท่านั้น
  • ระบุตัวตนได้ชัดเจน
  • มีใบรับรองแพทย์ ตรวจสอบว่าไม่ใช้สารกระตุ้นใด ๆ ก่อนลงแข่ง
  • ไม่พูดจาหยาบคาย หรือมีพฤติกรรมสื่อไปในทางไม่เหมาะสม
  • หากพบว่าโกงอาจถูกแบนจากการแข่งขัน หากมีประวัติบ่อยอาจเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ไม่ได้ตลอดชีวิต
  • แสดงความเคลื่อนไหวการเข้าออกเงินในบัญชี
เรื่องน่ารู้ธุรกิจอีสปอร์ต

3. ห้ามจัดการแข่งขันในสถานศึกษา

แน่นอนว่าแค่การแข่งขันระดับโลกอาจไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการบางคนเล็งเห็นโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าวงการอีสปอร์ต โดยเห็นผู้ชมหรือผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นเยาวชน จึงนึกอยากจัดกิจกรรมนี้ในสถานศึกษา เปลี่ยนมุมมองใหม่ เช่น ใช้เป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมยามว่าง หรือช่องสร้างอาชีพและรายได้ ฯลฯ ขอบอกเลยว่าการกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมายแน่นอน เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลมีนโยบายห้ามไม่ให้มีการแข่งขันวิดีโอเกมในสถานศึกษาตั้งแต่ประถมวัย ถึงมัธยมต้นโดยสิ้นเชิง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

4. ไม่ส่งเสริมหรือยุยงให้เล่นพนัน

เนื้อหาที่อยู่ในโฆษณาและทางสปอร์นเซอร์ต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการส่งเสริมยุยงให้เยาวชนเล่นพนัน ยิ่งในปัจจุบันเว็บพนันอีสปอร์ตยิ่งมีให้เห็นเกลื่อนกลาด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยกันสอดส่องดูแล แม้กระนั้นการพนัน Esport ยังเป็นสิ่งที่มีความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งแม้ว่าจะไม่มีการส่งเสริมก็ตาม

5. ระบบจำกัดอายุการเข้าถึง

หากสปอนเซอร์หรือโฆษณาเกี่ยวกับเกมชิงเงินรางวัลใด ๆ ต้องมีระบบจำกัดอายุอย่างชัดเจน เช่น กฎหมาย COPPA (The Children’s Online Privacy Protection Act of 1998) กฎหมายอเมริกาห้ามผู้ประกอบการให้บริการแก่เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี เป็นต้น โดยทุกผู้ประกอบต้องมีใบอนุญาตลักษณะนี้ประกอบการให้บริการ

6. ห้ามส่งเสริมการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาและสารเสพติดทุกชนิด

รวมถึงเครื่องดื่มหรืออาหารเสริมที่ส่วนผสมหรือโฆษณาว่าช่วยบำรุงสมอง ช่วยเรื่องความจำ หรือเล่นได้นานขึ้น และการพนันทั้งในไทยและต่างประเทศ รูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์

7. แจกแจงข้อมูลตามจริงทุกประการ

เช่น ความรู้เกี่ยวกับอีสปอร์ตทุกประเภท ค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม ซื้อไอเทม หรือใด ๆ ก็ตามต้องแจ้งข้อมูลเหล่านี้ให้ทราบตามความจริง


เรื่องน่ารู้ธุรกิจอีสปอร์ต

แหล่งรายได้ของเกมอีสปอร์ต

นอกเหนือจากการลงโฆษณาและรับสปอนเซอร์ยังมีช่องสร้างได้ โดยแบ่งออกเป็นรายได้ของผู้แข่งขันและสปอร์นเซอร์ (แบรนด์) ดังต่อไปนี้

1. รายได้ของผู้เข้าแข่งขัน

  • รายได้จากเกมการแข่งขัน เป็นรายได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับผู้ชนะหรือติดอันดับการแข่งขัน จำนวนขึ้นอยู่กับประเภทเกม เจ้าภาพ และการแข่งขัน เช่น อเมริกามอบเงินแก่ผู้ชนะสูงสุด $200,000 หรือคิดเป็น 6,779,200.00 บาทไทย (ค่าเงินปัจจุบัน วันที่ 5 มกราคม 2566)
  • เงินเดือน หากเป็นมืออาชีพหรือมีสังกัด อาจได้ผลตอบแทนเป็นเงินเดือน (อ้างอิงจากอเมริกา) เฉลี่ยต่อเดือน $1,000 – $5,000 หรือคิดเป็น 33,900 – 169,532.50 บาทไทย (ค่าเงินปัจจุบัน วันที่ 5 มกราคม 2566) สำหรับคนที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างทั้งด้านฝีมือและชื่อเสียงอาจได้เงินรายเดือนสูงถึง $15,000 หรือ 508,192.50 บาทไทย
  • โบนัส เช่นเดียวกับเงินเดือน แต่รายได้นี้อาจไม่ได้ทุกคน ได้เฉพาะคนที่ชนะการแข่งเยอะหรือบ่อย โดยมีผลทั้งต่อผลตอบแทนเป็นเงินและการเป็นที่รู้จัก
  • สตรีมเกม อีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ของเหล่าเกมเมอร์ ซึ่งสามารถสร้างเนื้อได้หลากหลาย ทั้งแนะนำการเล่น เล่นให้ดู  แม้กระทั่งเทคนิคและเคล็ดต่าง ๆ อาจทำผ่าน Facebook, YouTube หรือช่องทางอื่น ๆ

2. รายได้ของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

  • สร้างสินค้าจากเกม เพิ่มสิทธิพิเศษ เช่น แลกไอเทมเกม มีผลช่วยให้แบรนด์นั้น ๆ กลายเป็นที่รู้จักของเหล่าเกมเมอร์มากขึ้น รายได้จากการสินค้าก็จะเข้ามา
  • ร่วมแคมเปญ เน้นสร้างคอนเทนต์หรือไอเดียต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเกมและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์นั้น ๆ กระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามแม้อีสปอร์ตได้รับความนิยมทั่วโลกและเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบเพิ่มยอดขาย ขยายฐานลูกค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นของเหล่าเกมเมอร์ แต่ผู้ประกอบการคำนึงถึงบทบาทตัวเองให้มาก ๆ ว่าควรสื่อแบบไหน ถ่ายทอดเนื้อหายังไง ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดแก่เยาวชน สำหรับวันนี้เราหวังว่า เรื่องน่ารู้ธุรกิจอีสปอร์ต ในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้มากขึ้น

เงินรางวัลที่มากจนสามารถทำให้การพนันอีสปอร์ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางหารายได้ ยิ่งเป็นเกมชั้นนำระดับโลกด้วยแล้วละก็ ยิ่งอยากจะไปให้ถึง แต่ถ้ายังไม่ค่อยแน่ใจกับรูปแบบการแข่งขัน แข่งยังไง เงินรางวัลในแต่ละทัวร์นาเม้นท์ และเงินรางวัลรวมจะมากแค่ไหนนั้น วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบลีกอีสปอร์ต ทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งรูปแบบและรางวัล

Similar Posts